เทศกาล อยุธยา
งานแสดงแสงเสียงอยุธยามรดกโลก
เนื่องจากนครประวัติศาสตร์พระครศรีอยุธยา
ได้รับการประกาศโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
ทางจังหวัดจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองทุกปี ในช่วงเวลาดังกล่าว
เป็นระยะเวลา 7 วัน ในงานจะมีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่
ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรมและประเพณีของไทย รวมทั้งการแสดง
แสงเสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา
งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
จัดเป็นประจำทุกปี ปลายเดือนมกราคมภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
อำเภอบางไทร มีการแสดง และประกวดผลงานด้านศิลปาชีพ
สินค้าพื้นเมืองทั่วไป การแสดงศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม
งานเทศกาลสงกรานต์
จัดในวันที่
13 เมษายน เป็นประจำทุกปี หน้าวิหารพระมงคลบพิตร
อำเภอพระนครศรีอยุธยามีขบวนแห่ตามประเพณีของชาวอยุธยาและ
ขบวนแห่เถิดเทิง สรงน้ำพระมงคลบพิตรจำลอง ประกวดนางสงกรานต์
พิธีไหว้ครูบูชาเตา
เป็น
"พิธีไหว้ครู" ช่างตีมีดตีดาบ ของชาวบ้านต้นโพธิ์ บ้านไผ่หนอง
และบ้านสาไล ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง
ซึ่งมีอาชีพในการตีมีดที่รู้จักกันทั่วไปว่า "มีดอรัญญิก"
บรรพชนของชาวบ้าน ไผ่หนองและบ้านต้นโพธิ์ ตำบลท่าช้าง
อำเภอนครหลวงนั้นเป็นชาวเวียงจันทน์
เข้ามาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
มีอาชีพในการตีทองและตีเหล็ก แต่ต่อมาเลิกทำทอง จึงเหลือแต่
การตีเหล็กอย่างเดียว เหล็กที่ตีนี้ส่วนใหญ่ทำเป็นมีด ดาบ และอาวุธ
ตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ
ซึ่งมีคุณภาพดีมากเมื่อทำเสร็จแล้วก็นำมาขายที่หมู่บ้านอรัญญิก
ตำบลปากท่า อำเภอท่าเรือ จึงเรียกว่ามีด "อรัญญิก"
สิ่งที่ชาวตำบลท่าช้างทุกคนยังคงถือสืบต่อมาตามขนบประเพณีเดิมคือการ
"ไหว้ครูบูชาเตา"
ซึ่งทุกบ้านจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 7 ค่ำ 9
ค่ำ ฯลฯ เดือน 5 (ประมาณเมษายน-พฤษภาคม) ตามแต่ความสะดวก
เพื่อระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์และเพื่อความเป็นสิริมงคลของตน
ทั้งยังเป็นการปัดเป่าอุปัทวเหตุต่างๆ ในการตีเหล็กอีกด้วย
งานลอยกระทงตามประทีปและแข่งเรือยาวประเพณีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
จัดเป็นประจำทุกปี ปลายเดือนพฤศจิกายน
ภายในบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทรมีการประกวดนางนพมาศ
ประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทง ประกวดโคมแขวน การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน
การแข่งเรือยาวประเพณี เรือยาวนานาชาติ
การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ |